หุ้น MICRO – สรุป OPPDAY 2022Q2

สรุปประเด็นสำคัญ

– ช่วงเดือน 6 ที่ผ่านมาเริ่มปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ใหม่ เริ่มปล่อยใน 8 สาขาก่อน เดือน 6 ปล่อยไปได้ประมาณ 60 ลบ. (ยอดเฉลี่ยต่อคันประมาณ 67,000 บาท) คิด Flat rate 11-23% และอายุสัญญา 3-4 ปี โดยเน้นภาคเหนือและอีสานก่อน เพราะเป็นพื้นที่ที่ Partner ถนัด บวกกับพยายามคัดคุณภาพลูกหนี้เป็นหลักสังเกตจาก Reject rate ที่ 30% สูงกว่าตลาดพอสมควร

– ปีนี้จำนวนส่งมอบรถบรรทุกมือหนึ่ง กลับมาดีกว่าปีก่อน แต่ยอดรถบรรทุกมือสอง ก็ไม่ได้ลดลง ตอนนี้มี Market share เพิ่มขึ้นเป็น 10.7% จากปีก่อนทั้งปีที่ 8.9%ส่วนยอดขายรถจักยานยนต์ครึ่งปีนี้ก็โตกว่าปีก่อนประมาณ ​5% อยู่ที่ 1 ล้านคัน

– พอร์ตล่าสุดอยู่ที่ 4,472 ลบ. +19.8% YTD มาจากการปล่อยสินเชื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้น ช่วงครึ่งปีแรกปล่อยไปแล้ว 1,331 ลบ. +34.8% YoY

– รายได้ก็โตตามพอร์ตที่โตขึ้น แต่กำไรลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันและสภาวะเศรษฐกิจส่งผลกระทบโดยตรงกับลูกค้าที่เป็นรายเล็กรายกลางเป็นส่วนใหญ่ บวกกับค่าใช้จ่ายในการเปิดธุรกิจใหม่ (เช่าซื้อมอเตอร์ไซค์) เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ให้กับ Outsource เพิ่มขึ้น ทำให้ Cost to income และ Credit cost เพิ่มขึ้นตาม

– D/E เพิ่มขึ้นมาเป็น 1.45 เท่าจากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่

– สัดส่วนอุตสาหกรรมของลูกค้ารถบรรทุกยังใกล้เคียงเดิม เป็นกลุ่มขนส่ง 50%ก่อสร้าง 33% และเกษตร 12% ส่วนเช่าซื้อมอเตอร์ไซค์ประกอบอาชีพเกษตรกร 32% ลูกจ้าง 32% และพ่อค้าแม่ค้า 20%

– NIM ลดลงเหลือ 13% จาก 13.9% ในก่อน หลักๆ มาจาก Yield ที่ลดลงจากการปล่อยสินเชื่อในรถที่มีอายุน้อยลงเพื่อลดความเสี่ยง และ Fee yield ลดลงจากอัตราค่า Commission ที่ลดลง แต่ภาพของไตรมาสถัดๆ ไป Yield จะดีขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยเช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์สูงกว่ารถบรรทุกมือสอง

•         Business plan

– การขยายสาขาครึ่งปีแรกขยายไปแล้ว 6 สาขา จากแผนที่คิดว่าทั้งปีนี้ขยาย 4-8 สาขา ตอนนี้ชะลอไปก่อนรอดูสภาวะเศรษฐกิจให้ดีขึ้น หากดีขึ้นจะขยายเพิ่มในไตรมาส 4

– พอร์ตสิ้นปีคิดว่าอยู่ที่ 5,000 ลบ. จากการปล่อยรถบรรทุกมือสอง 2,600-2,800 ลบ. บวกกับรถมอเตอร์ไซค์ 400-600 ลบ.

– NPL ตั้งเป้าให้ต่ำกว่า 3% แต่ถือว่าค่อนข้างลำบาก ปิด Q2 อยู่ที่ 4.58%

– ต้นไตรมาส 4 คาดว่าจะได้ใบอนุญาตจาก ธปท. ของธุรกิจ Micro FIN ทำธุรกิจให้สินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งแบบมีและไม่มีเล่มทะเบียน

Q&A

– การขึ้นดอกเบี้ยทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปัจจุบัน MICRO คิดดอกเบี้ยสูงกว่าคู่แข่งอยู่ 1-2%

– ประเด็นการควบคุมดอกเบี้ยจาก สคบ. ตอนนี้บริษัทปล่อย Effective rate ประมาณ 30% สูงกว่าตลาดเล็กน้อย แต่ไม่ได้สูงเท่าคู่แข่งบางรายที่ปล่อย 36% ตอนนี้เท่าที่ได้ยินข่าวคือกรอบที่ประกาศจะอยู่ที่ 25-30% หากได้รับผลกระทบก็ไม่ได้มากเท่าไหร่

– พยายามออกหุ้นกู้เพื่อ Fix อัตราดอกเบี้ยไว้ให้มากที่สุด ใน Q4 จะออกเพิ่มอีกประมาณ 1,000 ลบ.

– แผนการควบคุม NPL คือการเร่งรัดทวงถามหนี้และเพิ่มกระบวนการคัดกรองให้เข้มมากขึ้น

กราฟกำไรรายไตรมาส

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
? แอด Line มีของแจก ฟรี!!!
Line id : @MrStock
? Line : https://MrStock.me/line
( คลิก ที่ลิ้งก์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)