อัตราเงินเฟ้อ บอกอะไรได้บ้าง และควรดูตัวไหน?

อัตราเงินเฟ้อ เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ทำให้อำนาจในการซื้อของประชาชนลดลง อาจเป็นอุปสรรคต่อการวางแผนธุรกิจและการออม โดยสามารถคำนวณได้ทั้งจาก Headline Inflation และ Core Inflation(เดี๋ยวจะ ค่อยๆ อธิบายเพิ่มเติมครับ)

ทำไมต้องรู้จัก อัตราเงินเฟ้อเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ สามารถบ่งบอกการเปลี่ยนแปลงของภาวะเงินเฟ้อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย การเข้าใจผลกระทบของเงินเฟ้อ จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการใช้เงิน ผู้ผลิตสามารถวางแผนการลงทุนและขยายกิจการได้

ผลกระทบต่อประชาชน

  • เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่ม แสดงถึงราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น จนอาจทำให้ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
  • ทำให้ค่าของเงินลดลง จากเดิมที่ใช้เงิน 100 บาทซื้ออาหารได้ 2 มื้อ ต่อมาเมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มทำให้ซื้อได้เพียง 1 มื้อ ซึ่งส่งผลไปถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ไม่สามารถมาชดเชยอัตราเงินเฟ้อได้

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการ

  • เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้น ก็หมายถึง ราคาวัตถุดิบก็ต้องแพงขึ้นเช่นกัน จนอาจทำให้ยอดขายของบริษัทลดลง และอาจเกิดการลดการจ้างงานได้
  • ราคาสินค้าที่ส่งออก ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเสียเปรียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ผลกระทบต่อประเทศ

การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศอาจชะลอตัวลง เนื่องจากประชาชนมีอำนาจในการซื้อน้อยลง จึงลดการใช้จ่าย และผู้ผลิตก็ไม่สามารถขายสินค้าเพิ่มได้ หากอัตราเงินเฟ้อ อยู่กับเรานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศ และอาจเกิดปัญหาที่ประชาชนต้องกู้หนี้ยืมสินมากขึ้น จนอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้

ประเภทของ อัตราเงินเฟ้อ

1. Headline Inflation หรือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่คิดมาจากสินค้าทุกกลุ่ม โดยดัชนีที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อประเภทนี้เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป

2. Core Inflation หรือ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเหมือนกับ Headline Inflation แต่จะไม่รวมสินค้า กลุ่มอาหารสดและพลังงาน

สาเหตุที่ไม่รวมสินค้าดังกล่าว เนื่องจากราคามีความผันผวนค่อนข้างมาก และมีปัจจัยมาจากต่างประเทศ โดยดัชนีที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อประเภทนี้เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน

หากต้องการดูภาวะเศรษฐกิจ ควรเน้นที่ตัวนี้ (Core Inflation หรือ อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐาน)

ใครดูแลเรื่องเงินเฟ้อของประเทศไทย

1. กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ ดูแลราคาสินค้า ไม่ให้ผู้ผลิตฉวยโอกาสขึ้นราคา และตรึงราคาเมื่อสินค้าขาดแคลน รวมทั้งยังเป็นผู้คำนวณ “ดัชนีราคาผู้บริโภค” ที่รวบรวมมาจากราคาสินค้าที่จำหน่ายทั่วประเทศ

2. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดำเนินนโยบายการเงิน ที่เรียกว่า “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” เพื่อดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในช่วงที่เหมาะสม และไม่ผันผวนเกินไปอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) โดยสำหรับปี 2564 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ใช้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) อยู่ในช่วง 1% – 3%

พอเข้าใจเรื่องเงินเฟ้อ ทำให้เราติดตามภาวะเศรษฐกิจได้ง่ายขึ้นและนำมาปรับใช้กับการลงทุนของเราได้อีกด้วย ครับ

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬

? แอด Line มีของแจก ฟรี!!!

Line id : @MrStock

? Line : https://MrStock.me/line (คลิก ที่ลิ้งก์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)

? คอร์ส หุ้น vi มือใหม่ ง่ายกว่าอ่านเอง รับประกัน ???

✅https://MrStock.me/vi/