Scuttlebutt เทคนิคการหาหุ้นพรายกระซิบ

Scuttlebutt คือ การสืบหาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เป็นวิธีที่ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ นักลงทุนชื่อดังที่เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพดีและมีการเติบโต ใช้ในการเลือกหุ้น

วิธีการหลักคือ เข้าไปสืบว่าการดำเนินธุรกิจของหุ้นที่เราสนใจ เป็นอย่างที่เราคิดและเข้าใจหรือไม่

Scuttlebutt ทำอย่างไร

ตัวอย่าง เช่น การเข้าไปพูดคุยกับพนักงานขายสินค้าของธุรกิจนั้น ๆ ในห้างสรรพสินค้า หรือ จากการสอบถามลูกค้าที่ใช้งานสินค้าจริง ๆ หรือ การเข้าไปพูดคุยกับคู่แข่งของบริษัทนั้น เป็นต้น  

ถามอย่างไรให้ได้คำตอบที่ต้องการ

1. ถามเชิงเปรียบเทียบ

อาจเข้าไปพูดคุยกับพนักงานในห้างสรรพสินค้าที่ขายสินค้าชนิดหนึ่งซึ่งเป็นประเภทเดียวกันกับอีกบริษัทหนึ่งว่า

สามารถขายสู้ยี่ห้อนั้นได้ไหม ใครขายดีกว่ากัน ลูกค้านิยมเลือกแบรนด์ไหน เป็นต้น

ซึ่งจะดีกว่าการถามตัวเลขจากงบการเงินตรง ๆ เช่น การถามว่ายอดขายโตขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว  

2. สืบจากพนักงาน

ทำให้พนักงานรู้สึกว่า เราเป็นพวกเดียวกันโดยการเข้าไปเป็นลูกค้าของร้านนั้น ๆ

การทำความสนิทสนมกับพนักงานของธุรกิจนั้น ทำให้เราได้เปรียบมากขึ้น

พนักงานจะรู้สึกว่า เราเป็นลูกค้าประจำและรู้สึกเต็มใจที่จะให้ข้อมูลต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ

แต่ควร พยายามเลี่ยงคำถามที่ผู้ตอบจะรู้สึกอึดอัดที่จะตอบ

Scuttlebutt

3. ถามคำถามอื่น ๆ สอดแทรก

ระหว่างการถามเกี่ยวกับคุณสมบัติของสินค้านั้น เราอาจจะถามคำถามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแบบอ้อม ๆ แทรกไปได้

ตัวอย่างเช่น ระหว่างการถามเกี่ยวกับคอนโดมิเนียม นอกจากการถามว่ามีพื้นที่กี่ไร่ ทั้งตึกมีกี่ยูนิต ได้ส่วนกลางอะไรบ้าง

ก็อาจจะแทรกคำถามว่า เปิดขายมานานหรือยัง แล้วขายไปได้เท่าไรแล้ว ลูกค้าส่วนมากเป็นโครงการเอง หรือลูกค้าที่ต้องการจริง ๆ

เพื่อนำมาประเมินต่อว่า สินค้าได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ หรือเป็นเพียงกลยุทธ์ในการโฆษณา เป็นต้น

การมีศิลปะในการพูดคุย จะช่วยให้ได้คำตอบที่เราต้องการมากขึ้น

Scuttlebutt ต่างจาก Company Visit และ Opp Day? 

การดู Opp Day และไป Company visit เป็นเพียงการรับข้อมูลจากผู้บริหารเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วย่อมเลือกเรื่องดี ๆ มานำเสนอ

แต่การทำเข้าไปสำรวจกิจการจะช่วยให้เห็นมุมมองจากฝ่ายอื่น ๆ ต่อสินค้า ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น

Scuttlebutt

Scuttlebutt และประโยชน์ที่จะได้รับ

1. อาจจะเจอสิ่งที่ไม่คาดคิด

เช่น เราเข้าใจมาตลอดว่าสินค้าชนิดนี้เป็นสินค้าล้าสมัยและไม่ได้รับความนิยม แต่เมื่อไปสำรวจกิจการกลับเห็นว่ามีลูกค้าแน่นร้าน เป็นต้น

ซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบในการหาหุ้นที่อยากเล่นได้

2. สร้างความมั่นใจให้กับสิ่งที่เราคิด

เช่น หากเรามีหุ้นอยู่แล้ว เราเข้าไปสำรวจกิจการ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถานะ และความสามารถของบริษัท ยังคงเป็นเหมือนเดิมตามที่เราเข้าใจ

ซึ่งจะสามารถนำมาประเมินต่อไปว่าควรจะถือต่อ หรือต้องเฝ้าระวังอะไรเพิ่มเติมหรือไม่

3. ได้ข้อมูลแบบ Real-time

จะทำให้เราได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมากกว่าการอ่านงบการเงิน และทำให้ทราบถึงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาเมื่อเจอวิกฤต

เช่น หากจัดโปรโมชั่นเพื่อแก้ปัญหาช่วงเศรษฐกิจแย่ เราก็เข้าไปสำรวจว่า ยังมีลูกค้าอยู่สนใจอยู่ไหม เป็นต้น

ข้อควรระวัง

1. ข้อมูลที่ได้อาจไม่ใช่ข้อมูลเชิงตัวเลขมากนัก แต่สามารถนำมา cross check กับข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งอื่น ได้

2. สิ่งที่เราเห็น ณ ช่วงเวลานั้น ณ สถานที่นั้น ๆ อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจการ ซึ่งไม่ได้บ่งบอกภาพรวมหรือเป็นตัวแทนของทั้งกิจการได้

3. ต้องระวัง bias ส่วนตัว เช่น สินค้านั้นไม่ใช่สินค้าที่เราจะเลือกใช้ อาจทำให้ความอยากที่จะเข้าไปสำรวจกิจการน้อยลง และอาจทำให้เสียโอกาสในการลงทุนได้  

อย่ากลัวที่จะถาม แต่จงกลัวที่จะสูญเสียเงินจากการลงทุนที่เราไม่มีความรู้

สนใจวิเคราะห์หุ้นด้วยโมเดลอื่น คลิก

Scuttlebutt

แอด Line มีของแจก ฟรี!!!

Line id : @MrStock
? Line : https://MrStock.me/line/
( คลิก ที่ลิ้งค์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)

Admin : Kamonwan