Moat โมเดลหาหุ้นดี ป้อมปราการแข็งแกร่ง

Moat เป็นโมเดลที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Morning Star โดยมีแนวคิดในการนำ กิจการ ไปเปรียบเทียบกับ ปราการ และให้แนวคิดในการนำมาวิเคราะห์ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยสนับสนุนให้ ปราการ นั้นมีความแข็งแกร่ง ทนทานจากปัจจัยภายนอกที่จะเข้ามากระทบ
ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ยิ่ง ปราการ มีความแข็งแกร่งมากเท่าไหร่ก็ยิ่งกันคู่แข่ง และสามารถยืนอยู่ได้ในระยะยาว

โดยโมเดลนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ ธุรกิจ สมัยใหม่มากขึ้น เช่น ธุรกิจ Platform ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบัน

MOAT

ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

1.ผลตอบแทน (Return)

MOAT

ดูว่าที่ผ่านมาบริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนได้หรือไม่
ถ้าหากทำได้ก็สามารถข้ามไปวิเคราะห์ต่อในข้อ 2.ความได้เปรียบ ต่อไป

ถ้าไม่สามารถทำได้ ต้องวิเคราะห์ต่อว่า
ธุรกิจจะสามารถเปลี่ยนแปลงจากอดีต หรือปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคต ได้หรือไม่

หากไม่สามารถทำได้ ถือว่า

No Moat

2.ความได้เปรียบ (Advantage)

MOAT

ต้องมีอย่างน้อย 1 ข้อหรือมากกว่านั้น โดยแบ่งออกได้ดังนี้

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)

แบรนด์ สิทธิบัตร หรือสัมปทานจากภาครัฐ ที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้บริษัทมีเหนือคู่แข่ง

ยกตัวอย่างเช่น AOT ได้เปรียบจาก สัมปทานของภาครัฐ ให้ดำเนินกิจการสนามบินแต่เพียงผู้เดียว

ความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Advantage)

ผลิตสินค้า หรือบริการ มีต้นทุนน้อยกว่าคู่แข่ง จากสเกลในการผลิตขนาดใหญ่จึงทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies Of Scale)

ยกตัวอย่างเช่น ร้านขนาดใหญ่ มีการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ มีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าแรงคนขับ น้ำมัน เท่าเดิมแต่ส่งของได้จำนวนมากขึ้นในแต่ละครั้ง

ต้นทุนการเปลี่ยนย้าย (Switching Costs)

ลูกค้ามีค่าใช้จ่าย หรือความไม่สะดวกในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของผู้ผลิตเจ้าอื่น ยกเว้นเสียว่า สินค้า และบริการของเจ้าอื่นจะมีคุณภาพที่ดีกว่า และราคาที่ถูกกว่า

เช่น การวางระบบคอมพิวเตอร์ของ ธนาคาร หากเลือกใช้บริการของเจ้าไหนให้เข้ามาดำเนินงานแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยน
เพราะ มีความซับซ้อนในการเปลี่ยน จากปัจจัยต่างๆเช่น ความเสี่ยงของข้อมูลที่อาจเกิดการรั่วไหล

พลังเครือข่าย (Network Effect)

เกิดจากลูกค้าใช้สินค้า และบริการมากขึ้นจนเกิดเป็นเครือข่าย (Network)

เช่น แพลตฟอร์ม Line มีการใช้ในคนหมู่มากจึงสามารถสร้างฐานลูกค้า
เพื่อสร้างพลัง Network ให้มีความแข็งแกร่ง ต่อมาเกิดเป็นสินค้า และบริการใหม่ๆตามมาอีกมากมาย

ขนาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficient Scale)

มีการแข่งขันน้อยรายในตลาดๆหนึ่ง ทำให้สร้างกำไรทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) ได้ เพราะคู่แข่งไม่อยากเข้ามาจากส่วนแบ่งทางการตลาด (Market Share) ต่ำ

เช่น อุตสาหกรรมผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มีเพียง 3 เจ้าท่านั้นที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาด จึงเป็นการยากที่ผู้เล่นใหม่ๆจะเข้ามา

3.ความยั่งยืน (Sustainability)

MOAT

วิเคราะห์ข้อได้เปรียบในข้อที่ผ่านๆมานั้นเป็นความได้เปรียบในระยะสั้น หรือระยะยาว
โดยมีเกณฑ์เปรียบเทียบดังนี้

10 ปีขึ้นไป Narrow Moat มีความแข็งแกร่งปานกลาง

20 ปีขึ้นไป Wide Moat มีความแข็งแกร่งมาก

แต่ทว่า หุ้นไทย ไม่จำเป็นต้องพิจารณาตามเกณฑ์ข้างต้นทุกประการ ด้วยปัจจัยหลายอย่างที่แตกต่างกับหุ้นต่างประเทศ ฉะนั้นแค่ 5-10 ปี ก็น่าจะเพียงพอสำหรับหุ้นไทย


จึงจะเห็นได้ว่าโมเดลตัวนี้ พอที่จะทำให้เห็นภาพกิจการคร่าวๆว่ามีความแข็งแกร่งเหนือคู่แข่งในด้านไหนบ้าง เป็นบริษัทที่ดีหรือไม่ คุ้มค่าแก่การลงทุนหรือเปล่า จึงเป็นอีกหนึ่งโมเดลที่มีความน่าสนใจ ทางเราแนะนำให้นักลงทุนควรศึกษาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำไปใช้วิเคราะห์กิจการที่ดีก่อนการลงทุน

แอด Line มีของแจก ฟรี!!!

Line id : @MrStock
? Line : https://MrStock.me/line/
( คลิก ที่ลิ้งค์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)