7 ข้อ จิตวิทยาการลงทุน รู้ไว้จะได้ไม่ตกหลุมพราง พร้อม 4 วิธีแก้

ทำความเข้าใจเรื่อง จิตวิทยาการลงทุน เหมือนศึกษากลไกการทำงานของสมอง ทำให้เรารู้ทันตัวเอง หากนำไปใช้กับการลงทุน จะช่วยให้ลดการขาดทุน และมีวินัยได้เป็นอย่างดี

เคยไหมเวลาที่ หุ้นขึ้น กระดานเขียว อยากขายใจแทบขาด ?
แต่พอหุ้นลง กระดานแดง ทนถือต่อได้ และปลอบใจตัวเองว่าเดี๋ยวก็ขึ้น

ความคิดแบบนี้อาจเป็นกับดักทางจิตใจของเราอยู่ก็ได้ และอาจนำเราไปสู่การตัดสินใจลงทุนที่ผิดพลาด

วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับ “ความคิด” ที่เป็นอุปสรรค กันดีกว่า

ทุกข้อที่นำเสนอ อาจเกิดขึ้นในบางสถานการณ์เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า หากเกิดเหตุการณ์หุ้นขึ้นหรือลง ต้องทำอย่างไร

เพียงแต่ต้องการให้รู้ว่า เราคิดอะไรอยู่ และมีอุปสรรคอะไรบ้างที่อยู่ระหว่างความคิดนั้น

1. กับดับเรื่องราคาหุ้น

เราชอบนำราคาต้นทุนที่เราซื้อมา หรือราคาต่ำสุด/สูงสุดก่อนหน้า หรือแม้กระทั่งราคา IPO ไปเทียบกับราคาตลาดปัจจุบัน

เช่น เห็นว่าราคาตลาด มีค่าสูงกว่าราคาต้นทุน แล้วก็รู้ดีว่าเป็นหุ้นพื้นฐานดี มีโอกาสไปต่อ แต่กลับไม่กล้าซื้อ

จิตวิทยาการลงทุน

หรือ ซื้อมาที่ราคา 10 บาท แล้วขายเมื่อ 11 บาท หลังจากขายก็ขึ้นต่อไปอีก 12 บาท แล้วมีโอกาสไปต่อถึง 15 แต่ไม่ได้ซื้อเพราะว่า รับไม่ได้ ที่เคยซื้อที่ 10 บาท แล้วต้องมาซื้อที่ 12 บาท เป็นต้น

ซึ่งสิ่งที่อยากแนะนำให้ทำมากกว่า คือ การเทียบราคาตลาด กับ มูลค่าที่แท้จริง จากการประเมินมูลค่า

สนใจ การประเมินมูลค่าหุ้น ทำเองได้ คลิก

2. การได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้าง

บางครั้งเราอาจได้ยิน หรือ ถูกจำกัดความคิดจากคำพูดของคนอื่น เกี่ยวกับหุ้นมากเกินไป จนอาจทำให้เราเสียโอกาสในการทำกำไร หรือ อาจทำให้เราขาดทุนได้เช่นกัน

เช่น มีคนบอกกันมาว่าหุ้นนี้มาแน่ หรือ หุ้นนี้ตลาดไม่ค่อยเล่นกัน อย่าเข้าเลย ขยับยาก เป็นต้น

เพราะฉะนั้น หากเรากำลังจะตัดสินใจลงทุนด้วยเหตุผลของคนอื่น ให้ระมัดระวัง เป็นพิเศษ และหาวิธีป้องกันไว้ด้วย

จิตวิทยาการลงทุน

การฟังจากคนอื่นไม่ผิด หากเราฟังแล้วมาทำการบ้านต่อ ศึกษาหาข้อมูลประกอบ และวิเคราะห์ว่ามันเหมาะกับเราหรือไม่

“เงินของเราเอง เราต้องตัดสินใจเอง ไม่มีใครมารับผิดชอบให้เราได้”

3. หุ้นตกแล้วไม่ยอมขาย

ตามธรรมชาติแล้ว ความเสียใจจากการขาดทุน จะเป็นสองเท่า ของความดีใจตอนได้กำไร และมนุษย์จะทำทุกวิถีทาง ให้ตัวเองไม่ต้องเจอกับความเสียใจ จนบางครั้งก็ทำไปโดยไม่รู้ตัว

เมื่อหุ้นลง ก็ได้แต่ปลอบใจตัวเองว่า “เดี๋ยวก็ขึ้น”

ไม่ยอมขาย เพราะไม่อยากเผชิญกับความเจ็บปวด บวกกับความกลัวว่า หากขายไปแล้ว ราคาจะขึ้นต่อ ยึดคติ “ไม่ขายไม่ขาดทุน”

ซึ่งสิ่งที่ควรทำคือ กลับมาทบทวนว่า ที่หุ้นลง มีสาเหตุจากอะไร เป็นเพราะอารมณ์ตลาด หรือเพราะพื้นฐานจริง ๆ หรือมีอะไรที่เราคิดผิด

หากเราคิดผิด ควรรีบยอมแพ้ให้เร็วที่สุด บางทีเราแพ้บ้างก็ไม่เป็นไร เพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด

แต่ควรจำจุดที่ทำให้เราแพ้ แล้วนำไปปรับปรุงต่อไป

4. เปรียบเทียบผลงานของตัวเองในอดีต

บางครั้งก็อดใจไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบผลงานของตัวเองในอดีต กับปัจจุบัน

เช่น เราเคยขาดทุนกับหุ้นตัวนี้ จึงทำให้ “เข็ด” และไม่อยากกลับเข้าไปยุ่งอีก

ซึ่งเราก็เลิกติดตาม และเหมือนจะโกรธหุ้นตัวนี้ไปตลอด แต่ความจริงแล้วนั้น มันอาจเป็นเพียงเพราะช่วงเวลา หรือ ข่าว จึงทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดในตอนนั้นและขาดทุน

แต่เมื่อเวลาผ่านไป หุ้นตัวนั้นมีแผนพัฒนา ปรับปรุง ซึ่งมีแววที่จะสามารถเติบโตในอนาคตได้ แล้วเราก็ลืมมันไปเลย

การเลิกยุ่งกับหุ้นตัวนั้น อาจเป็นการปิดโอกาสเราได้

5. จิตวิทยาการลงทุนกับแหล่งที่มาของเงิน

แหล่งที่มาของเงิน ส่งผลต่อการตัดสินใจเราได้ เช่น หากเงินทุนนี้ได้มาง่าย ๆ จากการถูกหวย หรือได้รางวัลมา เราก็จะใช้อย่างไม่คิดเยอะ เหมือนกับเงินที่เราหามาเอง

จึงทำให้เรากล้าที่จะเสี่ยงมากขึ้น เพราะคิดว่า ไม่ใช่เงินของเรา ขาดทุนไปเราก็ไม่เสียหายอะไร

จิตวิทยาการลงทุน

แต่ความจริงแล้ว เงินที่เราได้มา ก็คือเงินของเรานั่นแหละ ไม่ว่าจะได้มาด้วยวิธีได้ มันมีมูลค่า และคุณค่าของมัน เพราะฉะนั้นเราควรนำไปลงทุนอย่างพิถีพิถัน จะดีกว่า

ซึ่งหากเราทำได้ก็ถือว่า ได้ทั้งกำไร ได้ทั้งต้นทุนเลย

6. จิตวิทยาการลงทุน ที่ติดกับความคุ้นเคย

ความคุ้นเคยกับหุ้นที่ตัวเองรู้จัก เช่น หุ้นของบริษัทดัง ๆ หรือบริษัทตัวเอง ก็จะใส่ใจเป็นพิเศษ หรือเลือกที่จะลงทุนมากกว่าตัวอื่น

การรู้จักหุ้นตัวนี้มากเกินไป จนเกิด Bias แบบดีและไม่ดี หรือแม้กระทั่งความไม่รู้ จนอาจทำให้เรามองข้ามหุ้นบางตัวไปได้

7. ความไม่กล้าทำตามแผนที่วางไว้

ถึงแม้เราจะเข้าใจกับดักหลาย ๆ ตัวที่มีในจิตใจเราแล้ว และพยายามหาวิธีป้องกัน

ซึ่งวิธีที่แนะนำก็คือ การทำแผนการซื้อขายหุ้น เช่น วางไว้ว่า เมื่อหุ้นราคาลงมาเท่านี้ จะทำการซื้อกี่จำนวนก็กำหนดไป หรือเมื่อหุ้นขึ้นไปเท่านี้ จะขายและพอแล้ว เป็นต้น

จิตวิทยาการลงทุน

ซึ่งควรเป็นแผนที่เราทำเมื่อเรามีสติเต็มร้อย ไม่มีอารมณ์ความกลัว หรือความหวังมาเกี่ยวข้อง เราคิดอย่างรอบคอบ และประเมินมูลค่าหุ้นไว้ มีข้อมูลประกอบครบถ้วนแล้ว

การวางแผนแบบนี้จะช่วยควบคุมการขาดทุนของเราได้เป็นอย่างดี

จิตวิทยาการลงทุน และ วิธีแก้

1. ตั้งกฎไว้เลย ว่าจะทำการซื้อขายที่สถานการณ์ไหนบ้าง

2. หากไปได้ยินมาว่าหุ้นนี้ดี ถ้าเราจะซื้อ ก็ให้ ฉุกคิดว่า เรายังไม่ได้ทำการบ้านตัวนี้เลย หากเราจะซื้อแสดงว่า เรากำลังติดกับดักทางจิตใจเราอยู่นะ

3. ถ้าเรารู้ตัวว่า เราเป็นคนเชื่อคนง่าย อ่านอะไรมา ฟังอะไรมาก็เชื่อไปหมด เราก็ต้องรู้ตัวว่า เรากำลังติดกับดักอยู่เช่นกัน เราควรอ่านอย่างมีสติ จับประเด็นที่เป็นความจริงเท่านั้น อะไรที่เป็นความเห็นของผู้อื่น สามารถเอามาประกอบ แต่ไม่ควรเอามาเป็นตัวตัดสิน

ตัวตัดสิน คือ สิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์ที่ออกมาจากตัวเราเองมากกว่า

4. ฝึกฝน และ รู้เท่าทันตัวเองอยู่เสมอ

แอด Line มีของแจก ฟรี!!!

Line id : @MrStock
? Line : https://MrStock.me/line/
( คลิก ที่ลิ้งค์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)

Admin : Kamonwan