อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)

อัตราส่วนทางการเงิน เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ งบการเงิน ทำให้เห็นภาพรวมของบริษัท และความสามารถในการทำกำไรในเชิงเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น

เพราะในงบการเงินนั้น ประกอบด้วยข้อมูลมากมาย ยากต่อการตีความ

จึงได้นำเครื่องมือ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน มาช่วยในการวิเคราะห์

เช่น จำนวนหนี้สินที่แสดงในงบการเงินนั้นก็ไม่รู้ว่ามากหรือน้อย?

สามารถวิเคราะห์โดยนำหนี้สินมาเปรียบเทียบกับส่วนของเจ้าของ (ทุน) ก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นสัดส่วนที่มากหรือน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย มีความเสี่ยงหรือไม่?

อัตราส่วนทางการเงิน

อธิบายถึงฐานะความมั่นคงทางการเงิน ผลการดำเนินงานของกิจการ เป็นการนำตัวเลขจากงบการเงินที่เกี่ยวข้องกันมาหาอัตราส่วนต่างๆ

เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ ใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกิจการในอดีต

ช่วยให้เข้าใจสุขภาพทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

ข้อดี ของการใช้อัตราส่วนทางการเงิน

ทำให้ประเมินฐานะทางการเงิน และความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจในเชิงเปรียบเทียบได้ง่าย

โดยอาจนำมาเปรียบเทียบกับกิจการในอดีต หรือเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง หรือเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมได้

การเปรียบเทียบกับกิจการในอดีต

ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของฐานะการเงิน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าของปัญหาที่จะเกิดขึ้น

การเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่ง

ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของกิจการ และความสามารถผู้บริหารของธุรกิจประเภทเดียวกัน

(หมายเหตุ ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนการเปลี่ยบเทียบ เพราะแต่ละบริษัทอาจมีการใช้นโยบายทางบัญชีที่ต่างกัน)

ใช้เปรียบเทียบกับเป้าหมายทางธุรกิจ

ว่าเป็นไปตามที่ผู้บริหารได้ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จะได้ทำการหาสาเหตุและแก้ไขต่อไป

สะดวกต่อการวิเคราะห์งบการเงิน

ผู้ใช้งบการเงินหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากยิ่งขึ้น


ข้อระวัง การใช้อัตราส่วนทางการเงิน

รวมรายการที่ผิดปกติไว้ด้วย

อัตราส่วนทางการเงินเป็นการคำนวณจากตัวเลขในงบการเงินโดยตรง ซึ่งรวมรายการที่ผิดปกติไว้ด้วย

เช่น กำไรพิเศษจะถูกรวมไว้ในงบการเงินแล้ว เมื่อนำมาคำนวณอัตราส่วนทำให้สูงกว่าปกติ หากไม่เจาะลึกลงในรายละเอียดทำให้เข้าใจผิดได้

  • เช่น บางปีบริษัทขายที่ดินออกไปทำให้มีกำไรสูงกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับปีปกติได้ ดังนั้นหากจะนำมาวิเคราะห์ ควรหักกำไรส่วนนี้ออกเสียก่อน
  • หรือ มีการตั้งสำรองต่างๆ ทำให้ อัตราการทำกำไรแย่กว่าปีก่อน

ไม่ควรเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินข้ามอุตสาหกรรมที่มีลักษณะธุรกิจแตกต่างกัน

ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ แต่ถึงแม้จะเปรียบเทียบกับบริษัทคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน ก็ควรดูรายละเอียดประกอบด้วย

เพราะแต่ละบริษัทก็มีธรรมชาติในการประกอบธุรกิจไม่เหมือนกันซะทีเดียว รวมถึงนโยบายทางบัญชีที่แตกต่างกันได้

  • เช่น ธุรกิจขายบ้านจัดสรร กับธุรกิจค้าปลีก ย่อมมีอัตราทำกำไรที่ต่างกัน โดยเบื้องต้นไม่สามารถใช้อัตราส่วนทางการเงินเปรียบเทียบกันโดยตรงได้
  • ควรเข้าใจลักษณะธุรกิจ (Business Model) ประกอบด้วย

อัตราส่วนที่ใช้บ่อย (เน้น ๆ)

ประเภทอัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนสภาพคล่อง

  • Current ratio, Quick ratio

อัตราส่วนโครงสร้างทางการเงิน

  • Debt ratio, D/E ratio, Interest coverage ratio

อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร

  • GPM, NPM, ROA, ROE

อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์

  • Total Asset Turnover, Cash Cycle

อัตราส่วนมูลค่าทางการตลาด

  • EPS, PE, Book Value, PB, Dividend Yield

รวม Financial Ratios ไว้ที่นี่ (คลิก)


อัตราส่วนที่ใช้บ่อย (เน้น ๆ)

ข้อมูลของ หุ้น CPALL สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน

ในบทความนี้คงได้ทำการรู้จัก อัตราส่วนทางการเงิน กับพอสมควร หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษาการอ่านงบการเงินบ้างนะครับ

สนใจศึกษาการอ่านงบการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่

ขอขอบคุณครับ

Mr.LikeStock