งบแสดงฐานะทางการเงิน ฝั่งหนี้สิน และ ทุน
ในบทความงบแสดงฐานะทางการเงิน มีสมการสำคัญคือ “ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ” จากบทความที่ผ่านมาเพื่อนๆ ก็ได้รู้จักชนิด หรือรายการต่างๆ ที่เป็นในส่วนของทรัพย์สินแล้ว ในบทความนี้ เพื่อนๆ จะได้รู้จักส่วนที่เหลือ คือ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ติตามอ่านกันได้เลย
หนี้สิน
หนี้สิน = หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน
หนี้สินที่ยกตัวอย่างมานั้นจะเป็นหนี้สินที่เห็นเป็นประจำเกือบทุกบริษัท
หนี้สินหมุนเวียน
1. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร และหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น
2. เจ้าหนี้การค้าหนี้สินหรือภาระผูกพันที่กิจการจะต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้ ที่เกิดจากาการซื้อสินค้าหรือบริการ (เราเป็นหนี้คนอื่น)
3. ตั๋วเงินจ่ายตั๋วเงินที่กิจการได้จ่ายออกไปเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการ เช่น ตั๋วแลกเงินหรือเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้า มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
4. เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปีเงินกู้ยืมระยะยาวเฉพาะในส่วนที่ถึงกำหนดชำระคืนภายในรอบระยะเวลา 1 ปีต่อจากนี้
5.เงินปันผลค้างจ่ายเงินปันผลที่ประกาศจ่ายไปแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ณ วันปิดงวดบัญชี
หนี้สินไม่หมุนเวียน
1. เงินกู้ยืมระยะยาวเงินกู้ยืมจากบุคคลภายนอกหรือสถาบันการเงิน ที่มีระยะเวลาในการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี
2. หุ้นกู้ระยะยาวหุ้นกู้ที่ออกโดยกิจการและมีระยะเวลามากกว่า1 ปี
3. หนี้สินภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานหนี้สินผลประโยชน์พนักงานหลังออกจากงาน
ส่วนของเจ้าของ
1. ทุนจดทะเบียนเงินทุนที่กิจการไปจดทะเบียนตามกฎหมาย ต้องแสดงชนิดของหุ้น (หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ) จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียน (ราคาPar)
2. ทุนที่ออกและชำระแล้วหุ้นและมูลค่าหุ้นที่นำออกจำหน่ายและเรียกให้ชำระมูลค่าหุ้นแล้ว
3.ส่วนเกินมูลค่าหุ้นเงินค่าหุ้นส่วนที่สูงกว่ามูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ
4. กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรกำไรสะสมคงเหลือหลังจากการจัดสรรแล้ว สามารถนำไปจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้
ประเด็นสำคัญที่ต้องดูในงบแสดงฐานะการเงิน
- ความเสี่ยงที่เกิดจากหนี้สิน ได้แก่ ลูกหนี้การค้า เงินกู้ยืมที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี
- เจ้าหนี้การค้า มีเยอะได้ ยิ่งมีเยอะ แสดงถึงอำนาจในการต่อรองสูง
- ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นหากมีมากกว่า 2 เท่าต้องระวัง
บทความนี้เป็นบทความสุดท้ายในส่วนของงบแสดงฐานะทางการเงิน ในส่วนถัดไปเราก็จะได้เรียนรู้งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จซึ่งเป็นงบที่หลายๆ คนนิยมดูกันมากที่สุด ในบทความนี้ Mr.LikeStock ขอลาไปก่อน
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
แอด Line มีของแจก ฟรี!!!
Line id : @MrStock
Line : https://MrStock.me/line( คลิก ที่ลิ้งก์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)
คอร์ส หุ้น vi มือใหม่ ง่ายกว่าอ่านเอง รับประกัน