งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อ่านอย่างไร
มาต่อกันในส่วนของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เป็นงบที่ใช้ดูเป็นหลัก เดิมมีชื่อว่างบกำไรขาดทุน การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายในงบนี้ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานทางบัญชี ดังนั้นสิ่งที่เราเห็นอาจไม่ใช่ของที่เกิดขึ้นจริงทั้งหมด แล้วเรายังรู้ได้ยังไง ? ขอเชิญเพื่อนๆ ติดตามผ่านบทความงบกำไรขาดทุนได้เลย
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หรืองบกำไรขาดทุน เป็นงบที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีรายได้ และค่าใช้จ่ายเป็นเท่าใด แสดงให้เห็นความสามารถในการทำมาหากินงบนี้เราก็จะพิจารณา รายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไร เป็นหลัก
รายได้
หมายถึง ผลตอบแทนจากการขายสินค้าหรือบริการ ที่ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ไม่รวมเงินทุนที่ได้รับจากส่วนของเจ้าของ แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ รายได้หลัก และรายได้อื่นๆ
- รายได้หลัก เป็นรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของธุรกิจหลัก
- รายได้อื่นๆ คือรายได้ที่ได้เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ
ค่าใช้จ่าย
ความหมายทางบัญชี คือ การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชี การจ่ายปัยผลไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จนี้จะมีทั้งที่เกิดขึ้นจริงและไม่ได้เกิดขึ้นจริง Mr.LikeStock จะค่อยลงรายละเอียดต่อไป
รายการค่าใช้จ่ายที่เราจะพบในงบการเงิน
- ต้นทุนขายหรือการให้บริการ
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ (SG&A)
- ต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ย)
- ภาษี
กำไร
กำไรเกิดจากรายได้หักด้วยรายจ่าย หากเพื่อนๆ เคยฟังนักวิเคราะห์พื้นฐาน คงเคยได้ยินคำศัพท์ต่างๆ เช่น Gross Profit ,EBIT ,EBITDA เพื่อไม่ให้งงอีกต่อไปมาทำความรู้จักกันเลย
- รายได้รวม – ต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น (Gross Profit)
- กำไรขั้นต้น – ค่าใช้จ่ายในการบริหาร = กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (EBIT)
- กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี + ค่าเสื่อม/คชจ.ตัดจ่าย = EBITDA
- กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี – ดอกเบี้ย = กำไรก่อนภาษี
- กำไรก่อนภาษี – ภาษี = กำไรสุทธิ
กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
คือ กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง ไม่สามารถลงในงบกำไรขาดทุนแบบปกติได้ ไม่สามารถนำไปจ่ายปันผลได้ และไม่ถูกนำไปคิดกำไรต่อหุ้น
หากเพื่อนๆ ดูบรรทัดกำไรจะเห็นว่า EBITDA เป็นบรรทัดที่แปลกกว่าเพื่อน เป็นกำไรที่ต้องนำ “ค่าเสื่อมราคา” และ “ค่าใช้จ่ายตัดจำหน่าย” บวกกลับเข้าไป หากจำได้ในรายจ่าย จะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจำหน่าย เป็นรายได้ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ถูกรวมอยู่ในต้นทุนการขาย EBITDA จึงเป็นที่นิยมในการดูว่าบริษัทค้าขายแล้วได้กำไรเป็นเงินสดคร่าวๆ นั่นเอง
หากเพื่อนๆ อ่านมาถึงบทความนี้ Mr.LikeStock ขอแสดงความยินดีด้วย ถือว่าเพื่อนๆ มีความรู้ระดับพื้นฐานเพียงพอที่สามารถศึกษาวิธีการอ่านงบที่ลึกขึ้นได้ และช่วยเลือกที่มีพื้นฐานดีได้แล้ว หากเพื่อนๆ อยากศึกษาให้ลึกขึ้น Mr.LikeStock ขอแนะนำบทความ 7 Ratio เลือกหุ้นเด่น ได้เลย
▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬
แอด Line มีของแจก ฟรี!!!
Line id : @MrStock
Line : https://MrStock.me/line( คลิก ที่ลิ้งก์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)
คอร์ส หุ้น vi มือใหม่ ง่ายกว่าอ่านเอง รับประกัน