งบการเงินรวม ดูอย่างไรให้เข้าใจ (มีคลิปประกอบ)

Mr.LikeStock เชื่อว่าเพื่อนๆ นักลงทุนคงเคยเห็นหุ้นที่เราลงทุนนั้นบางครั้งก็ไปเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทอื่นๆ มากน้อยแตกต่างกันออกไป การที่บริษัทสามารถไปซื้อหุ้นบริษัทอื่นหรือลงทุนในธุรกิจอื่นๆได้ ทำให้งบการเงินอาจต้องแสดง “งบการเงินรวม” และ “งบเฉพาะกิจการ” ทุกครั้ง เพื่อนๆหลายคนอาจไม่ทราบว่ามันแตกต่าง หรือมีรายละเอียดยังไงบ้าง ในบทความนี้ Mr.LikeStock จะเล่าให้ฟัง ฉบับลงทุนหุ้น

ในการไปลงทุนในกิจการอื่น ทางบัญชีจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป 3 ระดับได้แก่

บริษัทย่อย = กิจการถือหุ้นในบริษัทที่ลงทุนตั้งแต่ 50% ขึ้นไป (เราเป็นเจ้าของ)

บริษัทร่วม = กิจการถือหุ้นในบริษัทที่ลงทุนระหว่าง 20% ถึง 50%

เงินลงทุน = กิจการถือหุ้นในบริษัทที่ลงทุนน้อยกว่า 20%

ดังนั้น การบันทึกในทางบัญชีย่อมมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

เงินลงทุน หรือ สินทรัพย์ทางการเงิน

คือ เงินที่กิจการนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง หรือ หุ้น ที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาด เพื่อหวังผลกำไร ซึ่งสามารถบันทึกได้เป็น 2 แบบ

1. เงินลงทุนเพื่อค้า

  • การบันทึกแบบนี้เงินลงทุนจะแสดงมูลค่าตามราคาหุ้น ณ ตลาด
  • การเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นจะถูกบันทึกลงในส่วนของ กำไรหรือขาดทุน แม้ยังไม่ขายเงินลงทุนนั้น
  • กำไรทางบันชีที่เกิดขึ้น ถูกนำไปคิดเป็นกำไรสะสม กำไรต่อหุ้น ได้เช่นกัน
  • ทำให้กำไรขาดทุนมีความผันผวนสูงตาม จึงไม่นิยมใช้ในการบันทึก
  • นิยมใช้กับการลงทุนในตราสารหนี้

เพื่อค้า > ราคาหุ้นขึ้น > บันทึกกำไรลงงบกำไรขาดทุน > มีผลต่อ EPS

2. เงินลงทุนเผื่อขาย

  • เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายแสดงมูลค่าตามราคา ณ ตลาด
  • การเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์จะบันทึกใน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (กำไรขาดทุนที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง) ดังนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิ กำไรต่อหุ้น และกำไรสะสม
  • จะถูกบันทึกในส่วนของ กำไรหรือขาดทุน จริงๆ ต่อเมื่อได้ทำการขายหลักทรัพย์นั้นออกไปแล้ว

เงินลงทุนเผื่อขาย > ราคาหุ้นขึ้น > บันทึกลงกำไรลงใน กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ > ไม่มีผลต่อ EPS

บริษัทร่วม

“งบการเงินรวม” จะเป็นส่วนที่แสดงผลได้เสียที่เราได้รับจากการลงทุนนั้น โดยมีวิธีการบันทึก เรียกว่า “Equity Method” หลักการ คือ

  1. บันทึกเงินลงทุนในบริษัทร่วมเริ่มแรกด้วย ราคาทุน
  2. เงินลงทุนเพิ่มขึ้นลดลงด้วยการแบ่ง กำไร/ขาดทุน
  3. หากมีการจ่ายปันผล ทุนของกิจการก็ลดลงไปด้วย แต่ได้เงินสดกลับมา
  4. เห็นแต่ผ่านภาพรวมเท่านั้น One line consolidation

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A ถือหุ้นใน บริษัท B 40% ทุนของบริษัท B 100 ล้านบาท จะเป็นของ บริษัท A 40 ล้านบาท

หากดำเนินกิจการไปผ่านไป 1 ปี บริษัท B มีกำไร 10 ล้านบาท

ทุนส่วนบริษัท B จะเท่ากับ 66 ล้านบาท ทุนส่วนบริษัท A จะเท่ากับ 44 ล้านบาท

ต่อมาบริษัท B จ่ายปันผล 5 ล้านบาท

บริษัท A จะได้รับเงินปันผล 2 ล้านบาท ทุนส่วนบริษัท B จะเท่ากับ 61 ล้านบาท ทุนส่วนบริษัท A จะเท่ากับ 42 ล้านบาท

“งบเฉพาะกิจการ” จะถูกบันทึก โดยวิธี Cost Method

  1. บันทึกงินลงทุนในการซื้อหุ้นด้วยราคาทุน ไม่ปรับเปลี่ยนตามราคาหุ้นในตลาด
  2. รับรู้รายได้จากเงินปันผลเท่านั้น
  3. เงินปันผัลสามารถถูกนำมาคิด EPS ได้
  4. ในงบการเงินจะไม่ทราบถึงผลการดำเนินของบริษัทลูก

บริษัทย่อย

“ แม้ไม่ได้ถือหุ้นเกินกว่า 50% แต่มีอำนาจในการควบคุมกิจการก็จัดอยู่ในบริษัทย่อย ต้องทำงบการเงินรวม “

การทำงบการเงินรวม ในงบดุล ทรัพย์สินและหนี้สินของ 2 บริษัทจะถูกรวมเข้าได้กัน 100% งบกำไรขาดทุน ตั้งแต่บรรทัดรายได้จนถึงกำไรสุทธิก็จะถูกรวมเข้าด้วยกันทั้ง 100% แต่จะมีบรรทัดเพิ่มขึ้นมาเพื่อบอกกำไรสำหรับบริษัทแม่

งบดุล

ทรัพย์สิน = บริษัทแม่ + บริษัทย่อย

หนี้สิน = บริษัทแม่ + บริษัทย่อย

ส่วนของทุน = ทุนของบริษัทแม่ + NCI

ดังนั้น ในงบการเงินรวม ทรัพย์สิน จะไม่เท่ากับ หนี้สิน + ส่วนของทุน

NCI คือ ส่วนได้เสียที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย

หัวใจสำคัญของการอ่านงบเมื่อบริษัทที่เราลงทุนอยู่นั้นไปลงทุนในกิจการอื่น เพื่อแยกให้ออกว่ากำไรที่ได้มานั้น มาจากกิจการเก่งขึ้นจริง หรือได้มาเพราะไปลงทุนในบริษัทอื่น และจะช่วยให้เพื่อนๆ วิเคราะห์ธุรกิจได้แม่นยำยิ่งขึ้นอีกด้วย

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

▬▬▬▬▬▬▬▬▬▬

? แอด Line มีของแจก ฟรี!!!

Line id : @MrStock

? Line : https://MrStock.me/line( คลิก ที่ลิ้งก์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)

? คอร์ส หุ้น vi มือใหม่ ง่ายกว่าอ่านเอง รับประกัน ???

✅https://MrStock.me/vi/