ทำความรู้จัก วงจรชีวิตอุตสาหกรรม เพื่อความได้เปรียบในการลงทุน
ในการแบ่ง วงจรชีวิตอุตสาหกรรม (Industrial Life Cycle) เป็น 4 ช่วงเพื่อที่นักลงทุนจะได้เข้าใจว่าหุ้นตัวที่กำลังติดตามนั้นอยู่ในช่วงไหนของวงจรอุตสาหกรรม และเป็นไอเดียร์ในกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนแต่ละช่วงได้มากยิ่งขึ้น
วงจรชีวิตอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงดังนี้
1.บุกเบิก (Introduction)
อยู่ในช่วงเริ่มก่อตั้ง
ธุรกิจเพิ่งก่อตั้ง ยังไม่เป็นที่รู้จัก มีการลงทุนสูง ทำให้ส่งผลต่อ ยอดขาย และกำไร รวมถึง การจ่ายปันผล ของบริษัทน้อยหรือไม่สามารถจ่ายได้ในช่วงนี้
แบรนด์ไม่เป็นที่รู้จัก
เป็นช่วงที่กิจการต้องนำเสนอ สินค้า หรือบริการ ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
ยอดขาย และกำไร ยังน้อย
จาก ค่าใช้จ่าย ที่ยังสูงในช่วงเริ่มต้น ทำให้ผลประกอบการยังออกมาไม่ดี หรือมีผลขาดทุนทางบัญชี
จ่ายปันผลน้อย หรือยังไม่จ่ายปันผล
มาจากกระแสเงินสดที่ต้องนำไปลงทุนสูงในช่วงเริ่มต้น ทำให้บริษัทยังไม่สามารถจ่ายปันผลได้มาก หรือยังมีไม่การจ่ายปันผล
ข้อสังเกตุ
หุ้นยังไม่แพง แต่ก็มีความเสี่ยงว่าจะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจไปต่อได้หรือไม่
2. เติบโต (Growth)
ผ่านจุดเริ่มต้นมาแล้ว
ถือว่า กิจการ สอบผ่านในช่วงเริ่มต้นมาได้ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวจากสิ่งที่ทำมาในช่วงเริ่มต้น ทุกอย่างเติบโตอย่างรวดเร็ว บรรยากาศในกิจการดูดีไปเสียทุกอย่าง
แบรนด์เริ่มเป็นที่ยอมรับ
แบรนด์ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในหลากหลายช่องทาง ส่งผลต่อยอดขาย และกำไร ที่เพิ่มขึ้น
ยอดขาย และกำไร เพิ่มขึ้น
จากการที่สินค้าและบริการ ของธุรกิจได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะในแง่ของชื่อเสียง หรือคุณภาพ จึงออกมาในรูปแบบของผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นทั้ง ยอดขาย กำไร
จ่ายปันผลน้อย หรืออาจจะยังปันผลไม่ได้
ช่วงนี้ก็อาจมีความคล้ายคลึงกับช่วงเริ่มต้น คือ บริษัทยังจ่ายปันผลได้น้อย หรือไม่ได้เลย เพราะต้องนำเงินที่เข้ามาไปขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไป
ระยะการเติบโตแบ่งเป็น 3 ช่วง
- ระยะแรก
น่าสนใจ ยังไม่แพงมาก เป็นช่วงที่น่าสนใจในการลงทุน - ระยะกลาง
ราคาเริ่มแพง เพราะธุรกิจเริ่มเป็นที่รู้จัก และได้รับความสนใจจากนักลงทุน - ระยะสุดท้ายท้าย
ราคาหุ้นเริ่มแพง จะมีแรงในการเก็งกำไรเข้ามาเยอะ ไม่เหมาะในการลงทุนระยะยาว
3.อิ่มตัว (Maturity)
ยอดขายโตช้า
ธุรกิจได้ลูกค้าเข้ามาจำนวนมากจากในช่วง การเติบโต และไม่สามารถเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ๆได้มากไปกว่านี้แล้ว
ด้วยเหตุผลของ สินค้าหรือบริการของธุรกิจที่ไม่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าใหม่ๆได้
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทผลิต เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อาจจะจับตลาด กลุ่มคนรักสุขภาพ หมดแล้ว
จึงทำให้ยอดขายไม่มีการเพิ่มขึ้น มีแต่จะลดลงจากเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา
หากไม่มีการคิดค้น หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกมาก็เกิดความเสี่ยงที่จะไปอยู่ในช่วง “เสื่อมถอย”
ส่วนแบ่งทางการตลาดเต็ม (Market Share)
เกิดจาก ธุรกิจไม่สามารถเพิ่มฐานลูกค้าของกิจการได้แล้ว เนื่องจากกลุ่มลูกค้าในตลาดนั้นๆมีจำนวนจำกัด และตัวกิจการเองได้ถือครอง ส่วนแบ่งทางการตลาด ไว้เต็มแล้ว
จ่ายปันผลสูง
ธุรกิจที่อยู่ในเฟสนี้ไม่ต้องนำเงินสดไปลงทุนขยายกิจการ จากหลากหลายปัจจัย
เช่น ธุรกิจไม่สามารถขยายการเติบโตได้มากไปกว่านี้ ส่วนแบ่งการตลาดเต็ม ไม่มีโมเดลธุรกิจใหม่ๆ
ซึ่งเหมาะแก่ นักลงทุนที่เน้นเงินปันผล
ข้อควรระวัง
ธุรกิจในกลุ่มนี้อาจเป็นธุรกิจที่กำลังเข้าสู่ช่วง “เสื่อมถอย” หากไม่มีการคิดค้น และพัฒนา สินค้าหรือบริการใหม่ๆ, สร้างโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อเข้าไปเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ
นักลงทุนที่เน้นเงินปันผล จึงต้องศึกษาอย่างรอบคอบว่าบริษัทที่เราต้องการนำเงินไปลงทุนนั้นอยู่ในช่วงไหนของ ระยะอิ่มตัว
4. เสื่อมถอย (Decline)
มีสินค้าใหม่เข้ามาทดแทน
ถือเป็นจุดที่อันตรายที่สุดสำหรับธุรกิจ หากมีปัจจัยข้อนี้เข้ามากระทบจะเป็นเรื่องยากที่กิจการจะกลับมาทำธุรกิจได้ดีดังเดิม เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นได้เปลี่ยนไปใช้สินค้าตัวใหม่ที่ได้รับการยอมรับในแง่ของ คุณภาพ และราคา
รายได้ และกำไร ลดลง
เกิดจากการที่ธุรกิจไม่มีการปรับปรุง พัฒนา สินค้าเดิม หรือไม่มี สินค้า และบริการใหม่ๆออกมาสู่ตลาด จึงทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้สินค้าใหม่ๆส่งผลต่อ รายได้ และกำไร ลดลง
ธุรกิจประเภทนี้จึงต้องหา New S-Curve (ช่วงแรกในการเติบโต) หาโมเดลธุรกิจใหม่ๆเพื่อพลิกฟื้นบริษัทให้กลับมามีการเติบโต และอยู่รอดต่อไปได้