ตลาดคาร์บอน เกี่ยวข้องกับ บริษัทในตลาดหุ้นอย่างไร

ตลาดคาร์บอน คือ ตลาดสำหรับซื้อขาย คาร์บอนเครดิต และ ใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ สร้างแรงจูงใจ ให้อุตสาหกรรม หันมา ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ก๊าซเรือนกระจกที่คุ้นเคย เช่น Carbon dioxide Methane และ Nitrous oxide เป็นต้น ถูกปล่อยมาจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นหลัก ทั้งจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล ถ่านหิน น้ำมัน เพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า และจากการตัดไม้ทำลายป่า

ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน เกิดมลพิษทางอากาศ โรคอุบัติใหม่ ภัยพิบัติ และกระทบแหล่งอาหารหรือที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต  

ทั่วโลกได้ร่วมกันแก้ปัญหา เช่น การออกกฎหมายส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจก จัดเก็บภาษีคาร์บอน และการตั้ง ตลาดคาร์บอนเพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิต ก็เป็นวิธีการหนึ่ง

ทำความรู้จัก ตลาดคาร์บอน

ตลาดคาร์บอน เป็นกลไกทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมหรือบุคคลทั่วไป ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคาร์บอนต่ำ หรือ Low carbon Economy ให้กับประเทศ

เป็นวิธีที่ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมได้มากและใช้ต้นทุนน้อย รวมทั้งเป็นวิธีที่ไม่ยากจนเกินไปที่จะช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกได้

นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย

รูปแบบ ตลาดคาร์บอน

รูปแบบตลาดคาร์บอน ทั่วโลก แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. ตลาดคาร์บอน ภาคบังคับ

เป็นตลาดที่รัฐดูแล โดยกำหนดให้ทุกสาขาการผลิตทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซสูงเข้าร่วม ซึ่งจะมีบทลงโทษชัดเจน ได้แก่ ตลาดคาร์บอนภายใต้พิธีสารเกียวโต

2. ตลาดคาร์บอน ภาคสมัครใจ

เป็นตลาดที่องค์กรเอกชนดูแลหรือจัดตั้งขึ้นเอง โดยที่ผู้เข้าร่วมจะเป็นใครก็ได้ตามความสมัครใจ และไม่มีบทลงโทษ แต่อาจมีสิ่งจูงใจให้เข้าร่วม

ตลาดคาร์บอน ของไทย

ตลาดคาร์บอนในประเทศไทยเป็น ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ หรือเรียกว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction : T-VER)


อยู่ภายใต้การพัฒนาของ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.

ตลาดคาร์บอน ทำงานอย่างไร

หลักการ คือ ปกติแล้ว โรงงานหรือบริษัทต่าง ๆ จะได้รับการจัดสรร สิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตาม เพดานที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดไว้

เมื่อเวลาผ่านไป โรงงานนั้น ๆ มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เกินสิทธิที่ตนเองได้รับจะต้องแก้ปัญหาโดยการเข้าไปซื้อ สิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากโรงงานอื่น ๆ ภายใต้ระบบเดียวกัน เรียกวิธีการซื้อขายนี้ว่า การซื้อขายแบบ Over the Counter เป็นการซื้อขายในตลาดแรก

หรืออาจแก้ปัญหาโดย การเข้าซื้อ “คาร์บอนเครดิต” จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ที่ระบบ Emission Trading Scheme (ETS) ยอมรับ เพื่อมาชดเชยส่วนที่ตนเองปล่อยเกินไป เรียกวิธีการซื้อขายนี้ว่า การซื้อขายผ่านตลาดสำคัญทั่วโลก เป็นการซื้อขายในตลาดรอง ภาพรวมคล้ายตลาดหุ้น

คาร์บอนเครดิต ที่กล่าวไปนั้น เปรียบเสมือนกับ สินค้าชนิดหนึ่ง ที่ถูกกำหนดให้มีมูลค่าและสามารถซื้อขายในตลาดคาร์บอนได้ เพื่อนำมาชดเชยปริมาณก๊าซที่ผู้ซื้อปล่อยมากเกินสิทธิที่ตนเองได้รับ

ในอีกมุมหนึ่ง หากโรงงานใดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าที่กำหนด ก็สามารถนำปริมาณที่เหลือเก็บสะสมไว้สำหรับปีถัดไปได้ หรืออาจนำมาขายให้กับผู้ที่ต้องการ

ตลาดคาร์บอนเป็นวิธีการกำหนดให้ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีมูลค่า เพื่อจูงใจให้กระบวนการดำเนินธุรกิจคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ขาย คาร์บอนเครดิต ให้ใครได้บ้าง

ผู้ซื้อมี 3 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. รัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้ว
  2. กองทุนคาร์บอนเครดิต
  3. นายหน้าหรือโบรกเกอร์ รับซื้อคาร์บอนเครดิต เพื่อนำไปขาย

อยากมี คาร์บอนเครดิต ต้องทำอย่างไร

คาร์บอนเครดิตได้มาจากการ “เสนอโครงการตามกลไกพัฒนาที่สะอาด” ให้กับ อบก. พิจารณาอนุมัติ ตามข้อกำหนดต่าง ๆ

โดยที่ผู้เสนอต้องออกแบบลักษณะโครงการ ขอบเขต วิธีการคำนวณการปล่อยก๊าซ และการติดตามปริมาณการปล่อย รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

หลังจากได้รับการอนุมัติโครงการจาก อบก. ต้องดำเนินโครงการที่ตนเองได้เสนอไว้ และจะมีหน่วยงานมาติดตามและตรวจสอบ พร้อมทั้งยืนยันว่าสามารถลดปริมาณก๊าซได้จริง

และหน่วยงานนั้น จะรายงานกลับต่อไปที่ คณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด ที่จะเป็นผู้อนุมัติและออกหนังสือรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ให้กับผู้ดำเนินโครงการ 

ตัวอย่างหุ้น ที่เข้าร่วมโครงการ T-VER

หุ้น PTT : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เช่น โครงการป่านิเวศระยองวนารมย์ กลุ่ม ปตท.

หุ้น BCPG : บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) เช่น โครงการพลังงานทดแทน BSE Grid Connected Solar PV Project

ตลาดคาร์บอน

หุ้น TPIPP : บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เช่น โครงการการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) จากขยะมูลฝอยชุมชน

หุ้น BAFS : บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เช่น โครงการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์

หุ้น DELTA : บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เช่น โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โรงงานเดลต้าบางปู

ตลาดคาร์บอน

หุ้น HMPRO : บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เช่น โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ศูนย์จำหน่ายสินค้าโฮมโปร และศูนย์จำหน่ายสินค้าเมกาโฮม

หุ้น ICHI : บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เช่น โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ อิชิตัน กรีน แฟคทอรี

หุ้น MAKRO : บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เช่น เปลี่ยนโคมไฟ LED ภายในบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จำนวน 21 สาขา

ตลาดคาร์บอน

หุ้น SNP : บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เช่น โครงการโซลาร์รูฟท็อประยะที่ 2 ขนาด 459.2 กิโลวัตต์ สำหรับการผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) – โรงงานบางนา กม. 23.5

หุ้น GPSC : บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) เช่น โรงไฟฟ้าโคเจนเนอเรชั่น (โครงการสาธารณูปการ แห่งที่ 3)

ตลาดคาร์บอน

หุ้น KBANK : ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เช่น High-efficiency lighting installation in Chaengwattana 2 Building

จะเห็นได้ว่า มีหลายบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ T-VER ซึ่งแสดงให้เห็นการตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการทำเพื่อสังคม รวมทั้งยังสามารถลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจบางส่วนได้

หากใครที่มองหาหุ้นรักโลกแบบนี้ ก็สามารถศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้

This image has an empty alt attribute; its file name is Line_add_MrStock-1.png

แอด Line มีของแจก ฟรี!!!

Line id : @MrStock
? Line : https://MrStock.me/line/
( คลิก ที่ลิ้งค์เพื่อแอดเพื่อนได้เลย)

ข้อมูลอ้างอิง
https://ngthai.com
http://carbonmarket.tgo.or.th
https://www.youtube.com/watch?v=oIm56bQYc4Q
http://carbonmarket.tgo.or.th
http://library.senate.go.th

Admin : Kamonwan