ROE อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น

ROE (Return On Equity) แสดงความสามารถในการทำกำไรเทียบกับส่วนของเจ้าของ (ทุน) บอกความเก่งของกิจการได้ แต่ต้องอย่าลืมดูหนี้สินประกอบด้วย

เช่น หากมีส่วนของเจ้าของ 100 บาท สามารถนำไปสร้างกำไรได้กี่บาท ?

สูตรในการคำนวณ ROE

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ x 100 / รวมส่วนของผู้ถือหุ้น มีหน่วยเป็น %

ดังนั้นค่าควรเป็น

ควรมีค่ามาก

ค่าที่ได้

ควรมีค่าสูง เพราะแสดงว่ากิจการสามารถให้ผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นสูง ผู้ถือหุ้นมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง

หากมีค่าต่ำ แสดงว่าความสามารถในการทำกำไรของกิจการที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ สร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ต่ำ

ข้อสังเกต

ต้องระวังค่า ROE สูงๆ ที่เกิดจากกิจการที่มีหนี้สินมากๆ เพราะการมีหนี้สินถือว่าเป็นการ Leverage หรือกิจการที่ส่วนของผู้ถือหุ้น (ทุน) มีแนวโน้มลดลง

ดังนั้น จึงต้องประเมินความเสี่ยงของกิจการควบคู่กันไปด้วย

ลักษณะที่เหมาะในการนำไปใช้เปรียบเทียบ

คือ เปรียบเทียบบริษัทเดียวกัน แต่คนละงวดปี ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของบริษัท ว่าเก่งขึ้นหรือไม่ และอย่าลืมการดูโครงสร้างหนี้ด้วย


ตัวอย่างการคำนวณ

บริษัท ตัวอย่าง จำกัด มี งบการเงินดังนี้

งบแสดงฐานะการเงิน

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

บริษัท ตัวอย่าง จำกัด ปีที่ 2 สามารถคำนวณ ได้ดังนี้

กำไรสุทธิ = 315,000 บาท
(จาก งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ)

ส่วนของผู้ถือหุ้น (เฉลี่ย) 666,000 + 676,000 = 671,000 บาท
(จาก งบแสดงฐานะการเงิน)

อธิบายได้ว่า

ส่วนผู้ถือหุ้นทุก 100 บาท มีความสามารถทำกำไรได้ เท่ากับ 46.94 บาท


ส่วนประกอบของ ROE

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น จะขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยคือ

1.อัตรากำไรสุทธิ

หากมีกำไรสุทธิมากอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นก็จะมากตาม

ข้อนี้ถ้ามากแสดงว่าดี

2. อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม

แสดงถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้

กิจการยิ่งมีการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมมาก (ขายของได้มาก) ก็จะทำให้ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น มากไปด้วย

ข้อนี้ถ้ามากแสดงว่าดี

3. อัตราส่วนสินทรัพย์รวมต่อส่วนของเจ้าของ

การที่ส่วนของเจ้าของน้อยลง (หนี้สินมากขึ้น) จะทำให้ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น มีค่ามาก

ซึ่งการมีหนี้สินทำให้กิจการมีความสามารถกำไรมากขึ้น

แต่หนี้สินที่มากขึ้นทำให้กิจการยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย

ต้องระวังข้อนี้


การนำไปวิเคราะห์

สามารถนำไปเปรียบเทียบผลการดำเนินงานบริษัทเดิมแต่คนละงวด เพื่อดูความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับทุนที่มี กรณีนี้จะเหมาะมาก

หากอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น สูงขึ้นแปลว่าเก่งขึ้นนั่นเอง (อย่าลืมดูหนี้สินด้วย)

เช่น กรณีของ หุ้น HMPRO

อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น งวดล่าสุด มากกว่า งวดก่อนหน้า แสดงว่าดีขึ้น

และหนี้สินไม่ได้เพิ่มมากขึ้น แปลว่าเก่งขึ้นจริง ไม่ได้ใช้ตัวช่วย

สรุป

อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรเทียบกับส่วนของเจ้าของที่มี หากมีค่ามากมักจะดี

แต่ระวังหุ้นที่ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น สูงๆ แต่เกิดจากการมีหนี้สินที่มากเกินไป ซึ่งมีความเสี่ยง


สนใจศึกษาการอ่านงบการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่

ขอขอบคุณครับ

Mr.LikeStock