STA ปี 2559 ไตรมาส 4 ขาดทุน !!

หลายๆ ท่านคงตามหุ้นยางพาราสุดร้อนแรงตัวนี้มาบ้าง เห็นราคายางพาราโลกขึ้นแรง ประกอบกับ ดีมานด์ ที่มากขึ้น ทำให้พอลุ้นว่า ไตรมาส4 ปี 2559 งบของ STA น่าจะต้องออกมาดี แต่ทำไมของจริงถึงออกมาขาดทุนเยอะมาก ๆ มาดูกันครับ

ก่อนอื่น เวลาจะดูงบ คิว4 มีความลำบากตรงที่ต้องเปิดงบปีมา และเอางบ คิว3 (รวม 9 เดือน) มาลบออก = =’ ผมได้ทำมาให้แล้วครับตามในภาพนี้เลยครับ

จะเห็นว่าใน ไตรมาส 4 นั้น มี ขาดทุนอื่น ถึง 1,100 ล้านบาทเลยทีเดียว ถ้าเทียบกับกำไรปีที่แล้ว แทบจะพอๆ กันเลย หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ขาดทุนไตรมาส 4 ไตรมาสเดียว = กำไรปีที่แล้วทั้งปี

คราวนี้เราต้องมาแกะต่อว่า แล้วรายการนี้คืออะไร ?

เราสามารถดูได้จากหมายเหตุประกอบงบการเงินห้วข้อที่ 31 มาเปิดดูกันครับ

รายการที่ขาดทุนนั้น เป็นจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินเกี่ยวกับยางพารา หรือ ฟิวเจอร์ยางฯ นั่นเอง ซึ่งเค้าก็ได้อธิบายไว้ใน คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2559

ดูได้ที่นี่ https://www.set.or.th/set/companynews.do?symbol=STA&ssoPageId=8&language=th&country=TH

มาดูราคายาง กันหน่อยครับ

จะเห็นได้ว่าราคายางพาราเป็นขาขึ้น แต่เนื่องจาก STA ได้ทำการ Short Future (ราคาขึ้นจะขาดทุน) เลยทำให้มีการขาดทุนในส่วนนี้ค่อนข้างมากในไตรมาส 4

วิเคราะห์ต่อ

บริษัทให้ภาพว่า ปริมาณการขายยังเติบโตได้ดี แสดงว่าต้องมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นแล้วสะท้อนไปยังงบการเงิน

เลยลองมาดูที่สินค้าคงเหลือ จะเห็นได้ว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก สิ้นไตรมาส 3 (30 กันยายน 2559) ถึง 7 พันกว่าล้านบาท คือ มีการตุนสินค้าไว้รอขายนั้นเอง

คราวนี้ต้องมาวิเคราะห์ต่อ ถ้าบริษัทต้องตุนสินค้าไว้เยอะๆ จะมีผลกระทบอะไรในงบการเงินให้เราเห็นบ้าง ?

แน่นอนการสต๊อกสินค้าต้องมีเงินไปจมกับตรงนั้นมากขึ้น แต่เดิมบริษัทก็ไม่ได้มีเงินสดเหลือมากพอที่จะตุนได้ระดับนี้ เลยต้อง กู้ เข้ามาครับ ในงบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) ก็จะโชว์ให้ดูครับ

จะเห็นได้ว่าหนี้ เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน โตขึ้นมาก เพิ่มขึ้นถึง 9,573 ล้านบาท ทำให้ยอด รวมหนี้สิน เพิ่มขึ้นถึง หมื่นกว่าล้านบาท

สรุป เอาถึงตรงนี้ก่อน

  1. บริษัทขาดทุนเยอะมากจาก การช้อตฟิวเจอร์ ตอนไตรมาส 4 ประมาณ 1,100 ล้านบาท
  2. บริษัทมองว่ายอดขายยังเติบโตได้อีกเลยทำการตุ้นสินค้าเพิ่มขึ้น ณ ตอนไตรมาส 4 เป็นยอด 7,055 ล้านบาท ราคาที่ซื้อยางมา ก็น่าจะเป็น ราคาช่วงไตรมาส 4 (ตุลา – ธันวา 2559)
  3. เลยทำให้ต้องกู้ระยะสั้นเข้ามาอีก 9,573 ล้านบาท

—- ต่อจากนี้ลองคำนวณต่อเองนะครับ —-

ต่อมา ดูราคายาง ตอนนี้ (บทวิเคราะห์ ธนชาติ)

ณ เวลานี้ไตรมาส 1 ปี 2560 ราคายางได้หักหัวลงค่อนข้างแรง

สิ้งที่ต้องลุ้น (เพราะไม่รู้ 55)

  • บริษัทจะ long หรือ shot ฟิวเจอร์ตรงไหนและเท่าไหร่
  • ราคาขายตอนไตรมาส 1 ปี 2560 จะกำไรหรือขาดทุน เมื่อเทียบกับ ต้นทุนที่ตุ้นสินค้าไว้ตอน ไตรมาส 4 ปี 2559
  • ถ้าท่านทราบ ก็จะพอเดากำไร ไตรมาส 1 ปี 2560 ได้ว่าจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้หรือไม่ ?

ถ้าพอมีเวลาลองดูงบกระแสเงินสดประกอบด้วยนะครับ แต่ถ้าจะดูของเฉพาะไตรมาส 4 ก็ต้อง เอา รวม 9 เดือนมาหักออก อ่านงบบ้านเราก็ลำบากหน่อยตรงนี้ครับ 555

ขอขอบคุณที่ติดตามเสมอมาครับ

Mr.LikeStock

#อ่านงบการเงิน